ที่มา https://www.facebook.com/371793389694429/posts/1315785428628549/
J wave syndrome สำหรับผู้เริ่มต้น (Beginner Class)
ตอนที่ 1 "J wave คืออะไร"
J point คือตำแหน่งรอยต่อของ QRS กับ ST segment เป็นตำแหน่งของจุดสิ้นสุด depolarization และเริ่มต้น repolarization ของ cardiac cycle
J wave คือ electrical deflection ในตำแหน่ง J point มีสองรูปแบบคือ
1. "end-QRS notch" positive deflection ใน terminal half ของ R wave
2. "end-QRS slur" slowing ของ terminal half ของ R wave merge กับ initial ST segment
J wave ถูก described ครั้งแรกในปี 1936 โดย Shipley และ Hallaran [1] ทีมผู้ศึกษา proposed ว่าเกิดจาก accelerated ventricular repolarization และเป็น normal variant ไม่มี clinical significance พบ J wave สองรูปแบบคือ notching กับ slurring ของ terminal QRS complex ทำการศึกษาใน healthy volunteer 200 คน ด้วย four-lead ECG
สองปีต่อมา hypothermic J wave ถูกพบครั้งแรกโดย Tomaszewski et al. [2] เป็น slowly inscribed deflection ระหว่าง QRS complex กับ ST segment ในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการจมอยู่ในน้ำแข็ง
ในสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจเรื่องนี้มากหลังการศึกษาของ Shipley และ Hallarn สองการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน American Journal of Cardiology ที่ยืนยันการพบ "J wave" เป็น normal variation ใน healthy population ได้แก่ Myers et al [3] ในปี 1941 รายงานว่าพบมากใน African -American (ในบทความต้นฉบับยังใช้คำว่า Negro) และ Goldman M. et al [4] ในปี 1953 ในปีเดียวกับการศึกษาของ Osborn
ปี 1953 Osborn [5] ทำการทดลองลดอุณหภูมิในสุนัข เมื่อ core temperature < 25°C และ pH ในเลือดลดต่ำลง พบ abnormal wave form ที่ junction ของ QRS กับ ST segment, Osborn เรียกความผิดปกตินี้ว่า "current of injury" อีก 23 ปีต่อมา Abbott และ Cheitlin เป็นคนตั้งชื่อ J wave ที่พบใน hypothermia ว่า "Osborn wave" ใน article เรื่อง The nonspecific camel-hump sign ที่ตีพิมพ์ลงใน JAMA ปี 1976 [6]
ปี 1961 การศึกษาของ Richard H. Wasserburger และ William J. Alt [7] "The normal R-ST segment elevation variant" ถือเป็น จุดเริ่มต้นของคำว่า "Early Repolarization" ทีมผู้ทำการศึกษาให้คำอธิบายว่า J wave เป็น elevated takoff ของ ST segment ที่เกิดจาก early repolarization ให้นิยามว่า J point ของ end-QRS complex มี amplitude 1-4 mm จาก isoelectric TP segment baseline ตามด้วย downward concavity ของ ST segment และ symmetrical large amplitude T wave ใน mid to left procordial leads
J wave ไม่มี clinical significance จนกระทั่ง
ปี 1981 United States Center for Disease Control [8] รายงาน ผู้อพยพที่มาจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 120 คนเกิด SCD โดยอธิบายสาเหตุไม่ได้ ปี 1984 Otto et al [9] รายงานผู้เสียชีวิต 3 คนจาก VF arrest ที่เป็นชาวเอซียตะวันออกเฉียงใต้ขณะหลับ โครงสร้างหัวใจปกติ พบเพียง J wave และ ST elevation
ปี 1991 Yoshifusa Aizawa [10] จาก Niigata University พบ idiopathic VF ในเด็กญี่ปุ่นอายุ 13 ที่มี J wave ใน inferolateal leads หลังจากทำ endocardial mapping พบ fragmented potentials ในตำแหน่งเดียวกับ origin ของ PVC ที่เป็น VF-triggered PVC ในเวลานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการใช้ transcatheter direct current ablation จาก external defibrillator ไปเป็น radiofrequency ablation ทีมแพทย์ตัดสินใจใช้ transcatheter DC ablation 50 - 100 J ที่ left postolateral wall endocardium สามารถ suppress VF และ J wave หายไปหลัง ablation ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ J wave syndrome ถูก define arrhythomegic substrate จาก intracardiac mapping และถูก modify ได้ด้วย catheter ablation "J wave สัมพันธ์กับ idiopathic VF" เคสนี้ถูกตีพิมพ์ใน American Heart Journal ปี 1992
ปี 1992 Pedro และ Josep Brugada [11] รายงาน 8 SCD ที่พบ RBBB + ST elevation ใน V1-V3 โดยที่โครงสร้างหัวใจปกติ อีก 4 ปีต่อมา ECG pattern ที่พบถูกเรียกว่า "Brugada pattern" ที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเกิด VF และ SCD ซึ่งถูกยืนยันด้วยการศึกษาอีกมากมายใน 10 กว่าปีต่อมา
ปี 2008 ถือเป็น seminal study ของ "Early Repolarization และ SCD" Michel Haïssaguerre จาก Université Bordeaux, Hôpital Haut-Lévêque และหลาย center ในยุโรปตีพิมพ์ความสัมพันธ์ของ Early Repolarization ใน SCD 400 กว่าราย ลงใน New England Journal of Medicine และ redefine definition ของ Early Repolarizaiton Pattern ว่าต้องมี J point elevation ≥ 2 lead ใน territory เดียวกันใน inferior หรือ lateral leads และ amplitude ≥ 0.1 mV
ปี 2008 Gi-Byoung จาก Ulsan เกาหลีใต้ และ Charles Antzelevitch เขียน letter to editor ของ New England Journal of Medicine ยืนยันการศึกษาของ Michel ว่า Early Repolarization พบแค่ ~ 3.3% ใน general population แต่กลับพบสูงถึง 60% ใน idiopathic VF, J wave สัมพันธ์กับ electrical storm ใน idiopathic VF
ปี 2009 Tikkanen et al. เพิ่มข้อมูลจากการศึกษาของ Michel ให้ความสำคัญของ magnitude of J point elevation ว่า 0.2 mV มี fatal arrhythmic risk มากกว่า 0.1 mV และ horizontal หรือ downward slope ST segment elevation มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นเดียวกัน
Early Repolarization Pattern และ Brugada Pattern คือ ECG findings only เมื่อพบร่วมกับ VT/VF หรือ aborted SCD จะเรียกว่า Early Repolarizaiton Syndrome และ Brugada Syndrome
ปี 2005 - 2010 เป็นช่วงรอยต่อที่ world authorities เห็นตรงกันว่า Early Repolrization Syndrome และ Brugada Syndrome เป็น continuous spectrum of phenotypic expression ของ "J wave Syndrome"
ปี 2015 Peter W. Macfarlane, Charles Antzelevitch, Michel Haissaguerre, Jani T. Tikkanen, และ Hein Wellens [15] ร่วมกันกำหนด นิยามของ J wave วิธีการวัด J point และ ST segment
J-wave มีสองการแสดงออก "notch" กับ "slur" ต้องเกิดใน terminal 50% ของ QRS complex และต้องแยกจาก fragmentation ซึ่งมักจะเกิดที่ midway ของ R wave
ประกอบด้วย 3 components
1) J onset (Jo) เป็น onset ของ "notch" ไม่มี Joใน "slur"
2) J peak (Jp) เป็น peak ของ "notch" และ onset ของ "slur"
3) J termination (Jt) เป็น end ของ "notch" และ "slur"
J-point elevation amplitude วัดจาก Jp ไปหา TP segment
ST elevation amplitude วัดจาก Jt ไปหา TP segment ตรงกันกับ Third Universal Definition of Myocardial Infarction
ST-segment slope ต้องวัดจาก Jt ไป 100 ms
"horizontal or downward sloping" เมื่อ ST segment amplitude ที่ห่างจาก Jt ไป 100 ms ≤ Jt amplitude
"upward sloping" เมื่อ ST segment amplitude ที่ห่างจาก Jt ไป 100 ms > Jt amplitude
alternative measurement สามารถทำได้โดยวัด 100 ms เช่นกันจาก Jo หรือ Jp ใน notch หรือ slur pattern แต่ต้องระบุให้ชัดเขน
ในตอนต่อไปจะพูดถึง "วิธีวินิจฉัย" และ "กลไกทางไฟฟ้าอย่างละเอียดของ J wave Syndrome"
References
1. Shipley RA, Hallaran WR. The four lead electrocardiogram in 200 normal men and women. Am Heart J 1936;11:325–345.
2. Tomaszewski W. Changement electrocardiographiques observes chez un homme mort de froid. Arch Mal Coeur Vaiss 1938;31:525–528.
3. Myers C.R., Klein H.A., Stofer B.E. and Hiratzka T. Normal variations in multiple precordial leads. Am . Heart J., 34: 785, 1947.
4. Goldman M. et al. R-ST segment elevation in mid-
and left precordial leads as normal variant. Am . Heart J., 46 : 817, 1953.
5. Osborn JJ. Experimental hypothermia: respiratory and blood pH changes in relation to cardiac function. Am J Physiol 1953;175:389–398.
6. Abbott JA, Cheitlin MD. The nonspecific camel-hump sign. JAMA 1976;235:413– 414
7. Wasserburger RH, Alt WJ. The normal RS-T segment elevation variant. Am J Cardiol 1961;8:184–192.
8. Centers for Disease Control (CDC). Sudden, unexpected, nocturnal deaths among Southeast Asian refugees. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 1981;30:581–584.
9. Otto CM, Tauxe RV, Cobb LA, et al. Ventricular fibrillation causes sudden death in Southeast Asian immigrants. Ann Intern Med 1984;101:45–47.
10. Aizawa Y, Tamura M, Chinushi M, et al. An attempt at electrical catheter ablation of the arrhythmogenic area in idiopathic ventricular fibrillation. Am Heart J 1992;123:257–260.
11. Brugada P, Brugada J. Right bundle branch block, persistent ST segment elevation and sudden cardiac death: a distinct clinical and electrocardiographic syndrome: a multicenter report. J Am Coll Cardiol 1992;20:1391–1396.
12. Gussak I, Antzelevitch C. Early repolarization syndrome: clinical characteristics and possible cellular and ionic mechanisms. J Electrocardiol 2000;33:299 –309
13. Haissaguerre M, Derval N, Sacher F, et al. Sudden cardiac arrest associated with early repolarization. N Engl J Med 2008;358:2016–2023.
14. Tikkanen JT, Anttonen O, Junttila MJ, et al. Long-term outcome associated with early repo- larization and electrocardiography. N Engl J Med 2009;361:2529–37.
15. Macfarlane P, Antzelevitch C, Haissaguerre M, et al. The early repolarization pattern: consensus paper. J Am Coll Cardiol 2015;66:470–7.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น