ที่มาhttps://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3195491593801536&id=100000221793828
[ข้อมูลจนถึงปี 2020]
ในทางทฤษฎี static magnetic fields จากแบตเตอรี่สามารถทำให้เกิด EMI มีผลกับ reed switch ของเครื่องเกิด asynchronous pacing ใน pacemaker หรือ ปิด shock therapy ของ ICD
ในทางปฏิบัติขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างครับ ชนิดของรถยนต์ไฟฟ้า ชนิดของแบตเตอรี ตำแหน่งของผู้ป่วยบนรถ ความเร็วในการขับ
** รถยนต์ในปัจจุบันมี ICE, HEV, PHEV, BEV และ FHEV
ICE ย่อมาจาก Internal Combustion Engine รถที่มีการสันดาปพลังงานภายใน ได้แก่ รถเครื่องเบนซิน ดีเซล ที่เราใช้กันอยู่นั่นเอง และกำลังจะ obsolete ไปในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว
HEV ย่อมาจาก Hybrid Electric Vehicle หมายถึงรถที่มีแหล่งพลังงานภายในรถสองแหล่งโดยหนึ่งในนั้นเป็น Battery ส่วนอีกแหล่งอาจจะเป็น ICE, Fuel Cell หรือ Ultra Capacitor ส่วนใหญ่จะเป็น ICE-Hybrid เช่น Toyota Prius, Camry Hybrid, Accord Hybrid, Altis Hybrid หรือ BMW ActiveHybrid 3/5/7
PHEV ย่อมาจาก Plug-In Hybrid Electric Vehicle คือ HEV ที่มีขยายความจุ Battery ให้สามารถใช้พลังงานจากไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้น ขับได้ไกลขึ้น สามารถ Plug-In กับแหล่งพลังงานภายนอกได้ เช่น Audi A3 E-Tron, BMW i8, Mercedes 350e, Mercedes S550e, Mini Cooper SE Countryman, Porsche Cayenne S E-Hybrid, Volvo XC 90 T8 หรือ BMW 330e
BEV ย่อมาจาก Battery Electric Vehicle รถกลุ่มนี้จะมีแหล่งพลังงานภายในเพียงแค่ Battery เท่านั้น เช่น Tesla Model 3, Tesla Model S, Tesla X, BMW i3, Nissan Leaf, Volkswagen e-Golf, Honda e, Hyundai Ioniq, Mitsubishi i-MiEV, Mazda MX-30
FHEV ย่อมาจาก Fuel Cell Electric Vehicle รถกลุ่มนี้มีแหล่งพลังงานมาจากสองส่วน หนึ่งในนั้นคือ Hydrogren จาก reverse electrolysis ระหว่าง Hydrogen กับ Oxygen มักใช้คู่กับ Battery หรือ Capacitor เช่น Toyota Mirai, Hyundai Nexo หรือ BMW i8 Fuel Cell
ข้อมูลของ CIED ตอนนี้มีเฉพาะ Toyato Prius 2012, BMW i3, Nissan Leaf, Tesla model S 85, Volkswagen e-up!
.
.
** Toyota Prius 2012 เป็นการศึกษาที่ทำโดย Cardiology Fellows ที่ Mayo Clinic นำเสนอในงาน ACC 7 ปีที่แล้วตีพิมพ์ใน International Journal of Cardiology เลือกรถรุ่นนี้เพราะเป็น HEV ที่มีคนใช้มากที่สุดในอเมริกา
นำคนไข้ที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ หรือ ICD (N ~ 30) มา interrogate และ keep setting เดิมไว้ทุกอย่างแต่ปิด ATP/Shock Therapy เพื่อป้องกันอันตรายขณะทดสอบ เป็น ICD ~ 74% CRT-D ~ 24% ในเครื่องเหล่านี้มี back up pacing function อยู่แล้ว จึงเป็นการทดสอบการทำงานของ pacemaker ไปด้วยในตัว
Toyota Prius สามารถสตาร์ทเครื่องได้และขับในความเร็วไม่เกิน 15 mph ก่อนที่เครื่องจะใช้พลังงานจากน้ำมัน ในความเร็วที่เพิ่มขึ้น > 15 mph เป็นต้นไประบบไฟฟ้าจะสามารถถูกชาร์จเก็บพลังงานเอาไว้ได้ ตัวแบตเตอรี่ถูกวางไว้ด้านหลังฝั่งซ้ายติดกับเบาะหลังซ้าย ตัว electric motor วางไว้ด้านหน้าติดกับคนขับ ในทางทฤษฎีช่วงที่ EMI ถูกปล่อยออกมามากที่สุดคือ activation และ deactivation ของระบบไฟฟ้า และด้วยแนวการวางแบตเตอรี่และมอเตอร์ทำให้แกนของ EMI สามารถกระจายออกได้ทุกตำแหน่งการนั่งของรถ
ตรวจ EMI ใน 4 ย่านการทำงานของเครื่อง
1. idle speed (100% electric)
2. low speed 30 mph
3. high speed 60 mph
4. variable speed (acceleration and breaking)
ตรวจวัด EMI ใน 6 ตำแหน่งให้คนไข้ที่ใส่ ICD ไปอยู่
1. เบาะคนขับ
2. เบาะข้างคนขับ
3. เบาะหลังซ้าย
4. เบาะหลังขวา
5. หน้ากันชนหน้า ห่าง 1 ฟุต
6. หลังกันชนหลัง ห้าง 1 ฟุต
วัด EMI สองค่าคือ peak magnetic field strength (A/m), peak electric field (V/m ในแต่ละย่านความถี่ ด้วย analyzer มาตรฐาน NARDA, EHP-50C
ผลออกมาพบว่า ย่านความเร็วทั้งสี่ไม่มีผลต่อ EMI ที่มีผลคือตำแหน่งที่นั่ง พบว่าที่นั่งหลังขวามี peak magnetic field และ electric field สูงที่สุด น้อยที่สุดที่นอกตัวรถทั้งสองตำแหน่ง
ทุกตำแหน่งและทุกย่านความเร็ว ไม่เกิด arrhythmia จาก remote ICD monitoring ค่า threshold, sensing, impedance ไม่เปลี่ยนเลย ไม่เกิด under- หรือ oversensing ของทั้ง 2 หรือ 3 leads
สรุปว่า Toyota Prius 2012 ปล่อย EMI ออกมาจริงๆ แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่อง ICD ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีของเครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่ที่ titanium shield ตัว pulse generator และ capacitor กรองคลื่นย่านความถี่ > 2 MHz ต่างจากเครื่องรุ่นเก่าๆ
ข้อจำกัด
1. ICD มี pacing function ก็จริง แต่โดยทั่วไปจะตั้ง sensivity ค่อนข้างสูงกว่า pacemaker โดยเฉพาะ pacemaker ที่ program เป็น unipolar sensing ควรมีการศึกษาที่ทำใน pacemaker โดยตรง
2. ICD เป็นรุ่นใหม่ที่มี titanium shield และถูกออกแบบให้กัน EMI ได้ดีขึ้นมาก
3. ไม่ได้ทดสอบการขับขี่จริงเป็นเวลานานๆ ผลอาจจะต่างออกไป
4. รถที่ใช้ทดสอบเป็นยี่ห้อเดียว โมเดลเดียว Toyota Prius 2012 ใช้ nickel metal hydride battery ที่ค่าศักย์ไฟฟ้า 201 V ในขณะที่ Hybrid ยี่ห้ออื่นมีค่า nominal ของศักย์ไฟฟ้าต่างออกไป 100 กว่า หรือ เกือบ 400 V ในบางยี่ห้อ หรือ รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดอย่าง Tesla
.
.
** BMW i3, Nissan Leaf, Tesla model S 85, Volkswagen e-up! ทำการศึกษาโดย Carsten Lennerz จาก Deutsches Herzzentrum Mu ̈ nchen and German Centre for Cardiovascular Research Munich, Germany ในปี 2018
รถทั้ง 4 รุ่นขายดีที่สุดในยุโรปก่อนปี 2018
เป็นการศึกษาที่สมบูรณ์แบบกว่าปี 2012 ใน Prius เพราะ ทำในผู้ป่วย 108 คนที่ใส่ทั้ง ICD และ pacemaker ทำการวัดทั้งช่วง charging และขับไปบนถนนจริงๆ ใช้ ELT-400 meter (Narda-STS) ร่วมกับ B-field probe และ 3 orthogonal coils ได้ sensing area 100 cm2 และย่านความถี่ของ EMI 1-400 kHz
1. Field strength สูงสุดที่ช่วง charging อยู่ที่ 30.1 ถึง 116.5 μT
2. ตำแหน่งที่นั่งทุกตำแหน่งบนรถมี field strength ไม่แตกต่างกัน
3. field strength เท่ากันตอนเร่งเครื่องอยู่กับที่และตอนขับไปบนถนน
4. "zero" evidence ของ EMI บนเครื่อง ICD และ pacemaker ไม่มี over-, undersensing, inappropriate pacing หรือ pacing inhibition, ไม่มี device reprogramming; real-time EGM ไม่มี noise ของ EMI; หลังขับและมา interrogate พบว่า pacing threshold, sensing, impedance ไม่เปลี่ยน program ของเครื่องเป็นปกติ
.
.
บทสรุปในรอบทศวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ Hybrid และ BEV "ยังไม่มี" ผลกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เครื่องกระตุกหัวใจ (ICD) ของผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสารด้วย 2 เหตุผลหลัก
1. titanium shield ของตัว pulse generator และ capacitor ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ
2. รถ BEV ถูกออกแบบโดยวิศวกรให้มี shielding ลด magnetic field strength ภายในห้องโดยสารได้ดีมาก
อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดอยู่ในรถแค่ 5 รุ่นเท่านั้น Toyota Prius 2012, BMW i3, Nissan Leaf, Tesla model S 85 และ Volkswagen e-up!
References
1. Tondato F. et al. Heart Rhythm Section, Department of Cardiology, Mayo Clinic. Int J Cardiol. 2017 Jan 15;227:318-324.
2. Lennerz C. et al. Deutsches Herzzentrum Mu ̈ nchen and German Centre for Cardiovascular Research Munich. Ann Intern Med. 2018;169(5):I-26.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น